กว่าที่สินค้าไทยแต่ละประเภทจะได้ไปอวดโฉมสู่สายตาชาวต่างชาติ ผู้ประกอบการไทยเองต้องฝ่าฟันและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ตลอดจนสร้างเอกลักษณ์จุดเด่นให้สินค้าแตกต่างไปจากคู่แข่งในท้องตลาด ลำพังแค่ความฝันหรือแรงบันดาลใจเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ วันนี้ 3 ผู้ประกอบการที่สามารถก้าวไกลสู่เวทีโลกจะมาบอกเล่าการฝ่าฟันอุปสรรคและการได้รับแรงสนับสนุนจากคนไทยด้วยกัน รวมถึงการมีพันธมิตรที่ดีอย่าง กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในโครงการ คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ที่ส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพสินค้าไทย เข้ามาช่วยเหลือแนะนำผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าให้ตรงความต้องการของนักท่องเที่ยว แนะนำเรื่องการเลือกใช้วัตถุดิบ พร้อมจัดคอร์สอบรมความรู้ด้านการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ตั้งแต่วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำบัญชี และการบริหารธุรกิจ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการและชุมชนที่เป็นคู่ค้ามีความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จและนำพาสินค้าไทยที่มีคุณภาพได้ก้าวสู่เวทีการค้าระดับโลก
อรรถเทพ สมัครธัญกิจ เจ้าของอารมณ์ดิน สตูดิโอ จ.ลำปาง ผลิตภัณฑ์งานปั้นเซรามิก ที่จัดว่าเป็นหนึ่งในสินค้าประเภทของที่ระลึกตกแต่งบ้านที่ขายดีที่ คิง เพาเวอร์ กล่าวว่า จุดเริ่มการทำธุรกิจกับ คิง เพาเวอร์ มาจากความฝันที่ว่าสักวันอยากนำสินค้าของเราไปสู่ตลาดโลก ช่องทางหนึ่งที่จะทำได้คือการวางขายสินค้าที่ คิง เพาเวอร์ เพราะที่นี่เป็นด่านแรกในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก เป็นโอกาสที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นสินค้า เมื่อได้ทำงานร่วมกัน คิง เพาเวอร์ ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงสินค้าให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ปรับรูปแบบ ลดขนาดตุ๊กตา ฯลฯ เพื่อให้ถูกใจและสะดวกแก่การซื้อกลับ ทำให้สินค้าขายดีขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะประสบปัญหาบ้างช่วงโควิดแต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ทำให้เราได้ย้อนกลับมาดูตัวเอง จัดการระบบสินค้าและหาความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้ทาง คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ฯ ช่วยจัดคอร์สอบรมให้ผู้ประกอบการพันธมิตรได้รับความรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิธีเก็บข้อมูล การทำบัญชี ทำสต็อกสินค้า การขายของออนไลน์ ฯลฯ จากเดิมทำไม่เป็นเลยจนสามารถทำได้ จากนั้นก็พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาจนสินค้าเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
“พูดได้เต็มปากว่าเป็นมืออาชีพมากขึ้นได้เพราะ คิง เพาเวอร์ เมื่อโอกาสมาถึงแล้วก็ไม่อยากปล่อยให้หลุดมือไป ซึ่งไม่เพียงเป็นโอกาสที่เราได้รับ แต่หมายรวมถึงโอกาสที่มาถึงคนใน อ.แม่เมาะ ด้วย เมื่อออเดอร์มากขึ้นก็มีการจ้างงานในชุมชนเพิ่มตามไปเช่นทำ
แอคเซสเซอรี่ประกอบตุ๊กตาอย่างการถักหมวกเล็ก ๆ งานดัดแว่น มีคนที่ปลดหนี้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซื้อรถใหม่ มีรายได้มากขึ้น ผมขอเป็นตัวแทนของอารมณ์ดิน สตูดิโอ กล่าวคำว่า ขอบคุณ สำหรับโอกาสที่มอบให้ ถ้าไม่ได้รู้จัก คิง เพาเวอร์ ก็คงไม่มีอารมณ์ดินที่เติบโตมาเหมือนทุกวันนี้” คุณอรรถเทพกล่าว
เมื่อพูดถึงขนมไทยที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมักจะเลือกซื้อเป็นของฝากจาก คิง เพาเวอร์ นั่นคือ “ข้าวแต๋น” ที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นขนมคุ้กกี้ข้าวไทยสุดคูลอย่าง “บางกอกคุ้กกี้” เกิดขึ้นจากแนวคิดของ ประสงค์ ลิ้มเจริญ ผู้ก่อตั้งแบรนด์บางกอกคุ้กกี้ ที่อยากพัฒนาขนมที่ทำจากข้าวคุณภาพดีส่งออกไปสู่ตลาดโลก อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้มีรายได้ สร้างชุมชนเข้มแข็ง
คุณประสงค์ เล่าว่า อยากสร้างสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของคนไทย และข้าวหอมมะลิคือหนึ่งในสินค้าที่เราอยากพัฒนา เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศและของโลก จึงคิดนำข้าวมาแปรรูปเป็นขนมข้าวกรอบ หรือที่เรียกว่าข้าวแต๋น โดยใช้ข้าว
ออร์แกนิก แต่จะทำยังไงให้ข้าวแต๋นของเราแตกต่างจากคนอื่น เราได้พันธมิตรทางการค้าที่ดีช่วยแนะนำการคัดสรรวัตถุดิบที่ดี พร้อมให้โจทย์เรามาพัฒนาสินค้า 3 ข้อ คือ ข้าวแต๋นต้องไม่เหมือนใครในโลก ต้องเก็บได้นานเกินกว่า 12 เดือน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย ในที่สุดเราก็ได้ข้าวแต๋น บางกอกคุ้กกี้ ออกจำหน่ายซึ่งปัจจุบันมีนับ 100 รสชาติ ความพิเศษอยู่ที่การใช้ข้าวออร์แกนิค ปราศจากสารเคมีในการปลูก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว และข้าวขาว ตลอดจนพัฒนากรรมวิธีการผลิตจนได้ผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้นานแต่ยังคงรสชาติความอร่อย กลายเป็นของฝากยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต้องถือติดมือ สร้างชื่อเสียงให้ขนมแปรรูปข้าวไทยดังไกลไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
“แน่นอนว่าเราไม่หยุดเพียงเท่านี้ วันนี้เราได้พัฒนาสินค้าและขยายตลาดสู่จีนภายใต้แบรนด์ Metem โดยการปรับรสชาติให้ถูกปากชาวจีนมากขึ้น รวมถึงผลไม้แปรรูป Fruitland ที่ผลิตและส่งออกใน 14 ประเทศ การนำข้าวไทยและผลไม้แปรรูปไปสู่ตลาดโลก ตอกย้ำให้เห็นศักยภาพของแบรนด์ไทยที่สามารถไปแข่งในตลาดโลกได้ เพิ่มมูลค่าข้าวไทยและยังเป็นการช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับบางกอกคุ้กกี้เชื่อว่าทุกวันนี้ได้พาข้าวแต๋นขนมสัญชาติไทยเดินทางมาไกลกว่าที่เคยและเป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากขึ้น นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในแบบที่ไม่เคยมีใครคิดทำมาก่อน” คุณประสงค์กล่าว
อีกหนึ่งความน่าสนใจของแบรนด์คนไทยที่นำหลักแนวคิดพลังแห่งความเป็นไปได้มาใช้ กับผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติจากแบรนด์ JUTATIP โดยคุณจุฑาทิพ ไชยสุระ เจ้าของรางวัล G-mark (Good Design Award) ปี 2564 รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมจากสถาบันการออกแบบของญี่ปุ่น บอกว่า การทำเครื่องแต่งกายผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ เป็นความตั้งใจในการนำภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่า
สู่รุ่นใหม่มาพัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานระดับสากล จุดเด่นอยู่ที่การใช้เส้นด้ายปั่นด้วยมือ กระบวนการทอมือ และเทคนิคการย้อมธรรมชาติ สร้างเอกลักษณ์ และเทคนิคการทอสไตล์ญี่ปุ่น ฯลฯ แต่สินค้าดีอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ วันนี้เรามาถึงจุดนี้ ได้เพราะความโชคดีที่ได้พันธมิตรที่ดี อย่าง คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย เข้ามาให้ความรู้ที่ทันสมัยทั้งในเรื่องการทำตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ การบริหารธุรกิจ ฯลฯ ช่วยให้เราสามารถสื่อสารเกี่ยวกับงานผ้าและความพิถีพิถันในการผลิตสินค้าของเราไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ทำให้คนต่างชาติรู้จักภูมิปัญญาของคนไทย และจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย
“การผลักดันสินค้าภูมิปัญญาไทยไปสู่ตลาดโลกควบคู่ไปกับการส่งเสริมวิถีชุมชน เป็นปณิธานที่ตั้งไว้มาโดยตลอด แม้ว่าในช่วงแรกเราไม่เก่งเรื่องทำเสื้อผ้า แต่พยายามเรียนรู้ทุกอย่าง นำมาปรับปรุงพัฒนาจนได้สินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการทำงานฝีมือเราต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ได้สินค้าที่ถูกใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่สำคัญเรายังคงสืบสานวิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายไป นอกจากจะเป็นการช่วยอนุรักษ์แล้วยังช่วยทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีรายได้ในการเลี้ยงชีพที่มั่นคงขึ้น” คุณจุฑาทิพกล่าว
ความสำเร็จของผู้ประกอบการคนไทยที่ได้ก้าวไปสู่เวทีระดับโลก เป็นความภาคภูมิใจของ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ และคนไทยทุกคน ที่เชื่อมั่นในพลังแห่งความเป็นไปได้ ซึ่งจะมาพาชุมชนและสังคมไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน