MUSIC POWER

เพิ่งประกาศรับสมัครคนรุ่นใหม่ผู้มีใจรักดนตรี เข้ามาประกวดวงดนตรีสากลสมัยนิยม ผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 ในชื่องาน “The Power Brand” ไปหมาดๆ โดยคิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่มรูปแบบการแข่งขันในแนวทาง pop music มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หลังจากประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติแห่งประเทศไทย (Thailand International Wind Symphony Competition-TIWSC) เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ อันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีส่วนสร้างฝันและจุดประกายให้นักดนตรีคลาสสิคบนเวทีแข่งขันมาตรฐานระดับสากลมาแล้ว 3 ปี
.
ครั้งนี้…เรามีโอกาสพูดคุยกับ “ดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ” คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้บุกเบิกการประกวด TIWSC ร่วมกับคิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ที่ประสบความสำเร็จและได้รับคำชื่นชมจากต่างประเทศมาตลอด 3 ปี ดร.ณรงค์ จะมาตอบในเรื่องที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการประกวด TIWSC ปี 2564 และความพิเศษของ The Power Band ที่เพิ่มเติมเข้ามา
.
ดร.ณรงค์ บอกว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาวงดนตรีของคนไทยมีการพัฒนาในด้านการแสดง และเลือกบทเพลงเข้าแข่งขันที่หลากหลายเล่นเพลงไม่ซ้ำกับวงอื่น แต่มุ่งสร้างเอกลักษณ์ของวงให้แตกต่างกัน ทำให้เห็นศักยภาพของเยาวชนไทยเป็นที่โดดเด่น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เห็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
.
ประเทศไทยมีนักดนตรีที่มีความสามารถมาก แต่ขาดโอกาสในการพัฒนา ขาดพื้นที่ในการส่งเสริมศักยภาพให้ก้าวไปสู่แนวหน้าในระดับนานาชาติ นักดนตรีบ้านเรามีความเก่งกาจเฉพาะตัว มีนักแต่งเพลงเก่งๆ ในระดับนานาชาติ คอนดักเตอร์ที่มีชื่อเสียง หรือบางคนเล่นโซโลในเวทีระดับนานาชาติ แต่ขาดการเล่นเป็นวง เป็นหมู่คณะ การเปิดโอกาสให้นักดนตรีไทยได้เพิ่มประสบการณ์และทักษะในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเราสามารถผลิตนักดนตรีที่อยู่บนเวทีระดับนานาชาติได้มาก ก็จะสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในด้านที่ดีมากขึ้นเหมือนในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีนที่พัฒนาและส่งเสริมให้นักดนตรีก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับนานาชาติ ผมมีความเชื่อมั่นว่าถ้ามีโอกาสเพิ่มขึ้นให้นักดนตรีของไทย จะทำให้เรามีกองทัพนักดนตรีที่ไปอยู่บนเวทีโลกอย่างแน่นอน
.
การเข้ามาสนับสนุนวงการดนตรีของ คิง เพาเวอร์ มีความสำคัญในการพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ให้พื้นที่แก่เยาวชนให้มีโอกาสได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการเป็นเจ้าภาพในการประกวดระดับนานาชาติเท่ากับเปิดโอกาสให้ประเทศในการแสดงความเจริญและศักยภาพทางด้านการบริหารจัดการให้กับทั่วโลกได้เห็นและสร้างความเชื่อมั่นในเวทีโลก ซึ่งไทยมีความพร้อมทั้งเรื่องสถานที่ในการจัดประกวดที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีสถานที่ท่องเที่ยวรองรับชาวต่างชาติ ซึ่งการประกวดดนตรีนานาชาติเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย
.
สุดท้าย อยากฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่กำลังเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันวงดนตรีสากลสมัยนิยม ผสมเครื่องเป่า ประจำปี 2564 “The Power Band” ว่า การแข่งขันเน้นที่ความสร้างสรรค์และคุณภาพของดนตรี เมื่อเราเน้นการแข่งขันที่คุณภาพ สิ่งที่เราจะได้ก็คือจุดหมายเดียวกันของผู้ร่วมแข่งขันคือการพัฒนาตัวเอง เป็นการสร้างความสามัคคีและทำให้เกิดมิตรภาพเพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุดจะมีวงดนตรีที่มีความสามารถและคุณภาพคับแก้วมากมายทั่วทุกภูมิภาคของไทย

.

#KINGPOWERTHAIPOWERพลังคนไทย #TIWSC

#ThaiPowerBrand #MusicPower